“กระจกชอบน้ำ” เทคโนโลยีแห่งความปลอดภัยสำหรับรถยนต์

117

ฤดูฝน เป็นหนึ่งในฤดูที่สร้างปัญหามากมาย โดยที่หลาย ๆ คนมักจะไม่ค่อยเท่าไร่ เพราะฝนที่ตกมาในแต่ละครั้งมักจะสร้างความลำบากให้กับการเดินทางเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเดินทางด้วยรถยนต์ นอกจากพื้นถนนที่ลื่นทำให้ยากต่อการควบคุมทิศทางแล้ว น้ำฝนที่เกาะกระจกเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ปิดบังวิสัยทัศน์ในการทองเห็น ทำให้ทัศนวิสัยในการขับขี่แย่ลงกว่าเดิม แต่ในปัจจุบันก็ได้มีการค้นคว้างานวิจัยขึ้นมามากมาย ที่เป็นตัวช่วยในการใช้งานให้ดีขึ้นกว่าเดิม โดยเกี่ยวกับกระจกที่ชอบน้ำ ซึ่งหลายคนที่ได้เห็นกันไปบ้างแล้ว คงมีข้อสงสัยมากมาย ว่าจริง ๆ แล้วมันจะปลอดภัย และเห็นผลได้อย่างไรในการขับขี่รถยนต์ในช่วงที่ฝนตก วันนี้จะไปทำความรู้จักกับเทคโนโลยีนี้กัน

กระจกชอบน้ำ

การวิจัยที่ออกแบบมาให้เหมาะแก่การใช้งานในช่วงหน้าฝน สำหรับเทคโนโลยี “กระจกชอบน้ำ” (hydrophilic mirror) ได้รับการพัฒนา และออกแบบวิธีการใช้งานอย่างได้ประสิทธิภาพโดยตรงจากทางหน่วยปฏิบัติการวิจัยเทคโนโลยีโฟโทนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สวทช. ซึ่งมีทีมวิจัย Optical Thin Film ได้ทำการศึกษาวิจัย และพัฒนากระจกดังกล่าว เพื่อใช้ในการผลิตกระจกมองข้างของรถยนต์ โดยเจ้าตัวกระจกชอบน้ำนี้ มีคุณสมบัติโดยตรงที่จะช่วยในเรื่องของการกระจายตัวที่เป็นปัจจัยหลักก็คือหยดน้ำ ที่สามารถช่วยลดปัญหาฝ้ามัว อาการปกติที่จะเกิดขึ้นมาภายในตัวกระจก นอกจากนี้เรื่องความคมชัดที่จะเกิดขึ้นโดยตรงของกระจก ที่มีส่วนในการมองรถยนต์ทางด้านหลังขณะที่ขับขี่ท่ามกลางฝนที่ตกได้ดียิ่งขึ้น

ซึ่งเทคโนโลยีของกระจกชอบน้ำนั้น จะใช้วิธีการเคลือบฟิล์มบาง ๆ โดยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำขึ้นมาโดยใช้ไทเทเนียมไดออกไซด์ (TiO2) เคลือบเป็นแผ่นฟิล์มบาง ๆ ความหนาอยู่ที่ 200 นาโนเมตร และเคลือบอีกชั้นด้วยซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) หนา 20 นาโนเมตร โดยลักษณะของการเคลือบแบบนี้จะเรียกว่า การเคลือบแบบสปัตเตอริ่ง (Sputtering) เมื่อกระจกที่รับผ่านการเคลือบมาอย่างดี มาเจอเข้ากับแสงแดดที่ผ่านกระทบกระจกเข้ามา ก็จะเกิดการทำให้อนุภาคที่เคลือบไว้แตกตัวออกเป็นประจุ และเมื่อเราขับรถไปยังพื้นที่ที่มีฝนตก ประจุที่แตกตัวนั้นก็จะทำปฏิริยากับโมเลกุลของน้ำฝน (H2O) จนเกิดเป็นกลุ่มไอออนของไฮดรอกซิลไอออน (Hydroxyl Ion, OH–) ซึ่งไอออนที่เกิดขึ้นนั้นจะมีคุณสมบัติชอบน้ำ และจะช่วยทำให้หยดน้ำที่เกาะอยู่บนกระจกไม่รวมตัวกันเป็นเม็ดใหญ่ ๆ และไม่เกิดฝ้ามัวเมื่อโดนไอน้ำ

แต่ถึงอย่างไร ข้อสงสัยที่หลายคนยังไม่เข้าใจว่า จริง ๆ แล้วแบบนี้ ต้องให้กระจกชอบน้ำไปโดนแสงแดดบ่อย ๆ หรือไม่เพื่อช่วยคงประสิทธิภาพดังกล่าว ซึ่งคำตอบที่ได้รับการทดลองออกมาจากการวิจัยได้ผลออกมาว่า เมื่อกระจกได้รับแสงแดดเพียงครั้งเดียวก็คงประสิทธิภาพในการชอบน้ำได้นานถึง 1 สัปดาห์ และยิ่งไปว่านั้น กระจกชอบน้ำยังสามารถทำความสะอาดได้ด้วยตัวเอง เหตุผลก็มาจากตัวไทเทเนียมไดออกไซด์ ที่ได้นำเอามาใช้เป็นส่วนประกอบในการเคลือบกระจกชอบน้ำยังมีคุณสมบัติพิเศษในเรื่องของการช่วยทำความสารอินทรย์ต่าง ๆ ที่อาจจะมาเกาะบนพื้นผิวกระจกได้