การ นับวันทางโหราศาสตร์ ตามปฏิทินจันทรคติไทย จะดูการขึ้นวันใหม่เมื่อตอนพระอาทิตย์ขึ้น ที่เป็นเช่นนี้เพราะในสมัยโบราณไม่มีนาฬิกา เลยถือเอาช่วงเช้าที่พระออกบิณฑบาต หรือมองเห็นลายมือไม่ชัด (ตอนเช้ามืด) ก็ให้นับเป็นวันใหม่ต่อมาเมื่อมีนาฬิกาจึงกำหนดให้วันใหม่ และคำว่ากลางวัน เริ่มต้นตอน 06.00 น. – 17.59 น. กลางคืนเริ่ม 18.00 น.-05.59 น. ดังนั้น 24 ชั่วโมงจองโหราศาสตร์ไทย จะแตกต่างจากรอบ 24 ชั่วโมงของสากลที่จะเริ่มวันใหม่เวลา 00.01 น.- 24.00 น.
ข้อยกเว้นการ นับวันทางโหราศาสตร์
หากใครเกิดวันพุธจะแบ่งเวลาเกิดเป็นสองวันคือ วันพุธกลางวัน กับเกิดในวันพุธกลางคืน วันพุธกลางวันจะเกิดในช่วงเวลา 06.00 น.-17.59 น. ส่วนวันพุธกลางคืน (วันราหู) จะต้องเกิดในช่วงเวลา 18.00น.-05.59 น.
ส่วนอีกวันก็คือวันราหู คือเกิดวันอาทิตย์ในช่วงเวลา 06.00 น. ไปจนถึง 05.59 น.ของวันจันทร์ ก็ยังถือว่าเป็นวันอาทิตย์อยู่ แต่เมื่อถึง 06.00น. ก็จะนับเป็นวันจันทร์ทันที ยกตัวอย่างเช่นหากในสูติบัตรระบุว่าเกิดวันอาทิตย์ เวลา 05.30 แต่ตามหลักโหราศาสตร์ไทยยังถือว่าเป็นวันเสาร์นั่นก็เป็นเพราะว่ายังไม่ถึงเวลา 06.00 น.
แต่ก็มีการ นับวันทางโหราศาสตร์ บางแบบมีการตัดเวลาท้องถิ่น สมมุติว่าในสูติบัตรระบุว่าเกิดวันอังคารเวลา 06.10 น. หากเป็นโหราศาสตร์ไทยโดยปกติก็คือเกิดวันอังคาร แต่โหราศาสตร์แบบนี้จะลบออกไปอีก 18 นาที ที่เป็นเวลาจริงที่ต่างกันของ กรุงเทพฯ และจังหวัดอุบลราชธานีเพราะถือว่าพระอาทิตย์ขึ้นก่อน (แต่มาทราบตอนหลังว่าจริงแล้ว พระอาทิตย์จะขึ้นก่อนที่ นราธิวาส ขึ้นห่างกัน 1 นาที)
นับวันทางโหราศาสตร์ ปีนักษัตร
ปีนักษัตรมีใช้หลายแบบเช่น ตามสูติบัตรปัจจุบัน นับปีนักษัตรใหม่ตามปฏิทินหลวง ที่จะถือวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 1 (ช่วงเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม เป็นปีนักษัตรใหม่ หรือแบบปีนักษัตรตามคติพราหมณ์ ที่วันเปลี่ยนนักษัตรใหม่คือ วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 (ประมาณเดือนมีนาคม)
นอกจากนี้ยังมีแบบอื่น ๆ อีกเช่นตามปฏิทินของ อ.ทองเจือ อ่างแก้ว นับวันที่ 1 มกราคม, ปฏิทินของ อ.เทพย์ สาริกบุตร นับวันที่ 1 เมษายน บางตำราก็ถือเอาช่วงวันสงกรานต์ (วันเถลิงศก) ช่วงวันที่ 15-17 เมษายน, หรือทางเหนือจะนับเอาวันที่ 14 เม.ย ช่วงสงกรานต์ หากเป็นแบบจีนจะใช้วันวันสารทลิบชุน ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ก่อนวันตรุษจีน
จะเห็นได้ว่า การนับวันทางโหราศาสตร์ ตามปฏิทินจันทรคติไทย นั้นมีความละเอียด และแตกต่างกันอยู่พอสมควร ทั้งนี้การจะนับแบบไหนไม่มีผิดมีถูก อยู่ที่ว่าจะเป็นตำราของครูอาจารย์ท่านไหน และเรามีความเชื่ออย่างไรแล้วสบายใจมากกว่า