ความหมายของ นวัตกรรมการศึกษา

196

“นวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation )” หมายถึง รูปแบบในการเพิ่มความสามารถในการศึกษา และการเรียนการสอนที่มีผลทางความสามารถ และเห็นผลโดยตรงที่มากที่สุด โดยที่ผู้เรียนสามารถเข้าใจ และเรียนรู้เพิ่มเติมได้อย่างรวมเร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด เกิดแรงจูงใจในการเรียนด้วยนวัตกรรมการศึกษา และเป็นวิธีที่ประหยัดเวลาในการเรียนได้เป็นอย่างดี

ความหลากหลายของนวัตกรรมการศึกษา

ในปัจจุบันการใช้นวัตกรรมทางการศึกษามีรูปแบบการเรียนการสอนมากมาย โดยรูปแบบที่มักนำเอามาใช้กันในปัจจุบันที่เป็นที่แพร่หลายเป็นอย่างมากก็คือ การเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวกลาง ขยายขอบเขตการเรียนรู้ การใช้แผ่นวิดีทัศน์เชิงตอบโต้ และอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา

มีปัจจัยมากมายที่มีผลต่ออิทธิพลต่อการศึกษา ยกตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงไปของความคิดพื้นฐานในด้านของการศึกษา อันมีผลโดนตรงต่อการทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญ ๆ โดยสามารถสรุปปัจจัยออกมาได้ 4 ประการคือ

  • ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) : การศึกษาของไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างมากกับเรื่องของความแตกต่าง ที่เกิดขึ้นระหว่างบุคคลอย่างชัดเจน ซึ่งมักจะได้เห็นจากแผนการศึกษาที่เกิดขึ้นของชาติ โดยที่จะให้มุ่งมั่นจัดการศึกษาตามความถนัดของตัวบุคคล โดยวัดจากความสามารถของแต่ละคนเอามาเป็นเกณฑ์ในการวัด
  • ความพร้อม (Readiness) : โดยปกติแล้วมักจะมีความเชื่อที่ว่า เด็กจะสามารถเริ่มเรียนได้ก็ต่อเมื่อมีความพร้อม ซึ่งเป็นรูปแบบของการพัฒนาที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันก็ได้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องของ จิตวิทยาการเรียนรู้ ที่ให้ข้อมูลออกมาว่า ความพร้อมในการเรียน สามารถศึกษา และเรียนรู้ โดยถือว่าเป็นสิ่งที่สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง ถ้าหากมีการจัดการระบบการเรียนรู้ของบทเรียน ให้เหมาะสมแก่ระดับความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
  • การใช้เวลาเพื่อการศึกษา : โดยปกติแล้ว การจัดเวลา หรือตาราง ของการเรียนการสอน โดยที่จะนำเอาความสะดวกต่อการเรียนการสอยมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเป็นหลัก เช่น ถือหน่วยเวลาที่เท่า ๆ กันในทุกวิชา จากนั้นก็จัดเวลาการเรียนเอาไว้ให้แน่นอนที่เป็นรูปแบบของภาคเรียน แต่ในปัจจุบันได้เห็นความสำคัญที่แตกต่างขึ้นของแต่ละวิชา จึงจัดเวลาการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชา ซึ่งแต่ละเวลาก็จะมีเวลาการเรียนการสอนที่ไม่เท่ากัน
  • ประสิทธิภาพในการเรียน : ความเจริญก้าวหน้าที่รวดเร็ว และทันสมัย การขยายตัวทางวิชาการ และรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใต้สังคม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยที่ทำให้ทุกคนจำเป็นจะต้องเรียนรู้เพิ่มเติม แต่การจัดการระบบการศึกษาในปัจจุบัน ยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ จึงจำเป็นต้องแสวงหา วิธีที่เหมาะสมตามช่วงเวลา ให้มีประสิทธิภาพมาที่สุด

คำว่า นวัตกรรม คือความคิดแนวใหม่ หรือการกระทำใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมาในช่วงเวลานั้น ๆ โดยที่จะมีนักวิชาการต่าง ๆ รวมไปถึงผู้เชียวชาญในแต่ละสาขาที่ถนัด โดยมีการคิด และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นมาเสมอ ดังนั้นคำว่า นวัตกรรม จึงเป็นสิ่งที่ไม่สิ้นสุด โดยที่จะมีการพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นมาอยู่เสมอ สิ่งไหนที่ทำขึ้นมาแล้ว หรือเกิดขึ้นมานานแล้วในอดีต สิ่งเหล่านั้นก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยที่จะต้องมีสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมาทดแทนตลอดเวลา